วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ





สิ่งแวดล้อม


สิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENT)  หมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมสิ่งที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้   นามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา   ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ


กลุ่มนักสิ่งแวดล้อมให้นิยามว่า สิ่งแวดล้อมหมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา


ประเภทของสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า อากาศ ดิน น้ำ มนุษย์ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่นประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย
-
สิ่งที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์
-
สิ่งที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาจจะมองเห็นหรือมอง ไม่เห็น เช่น แร่ธาตุ อากาศ เสียง

2.
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) ได้จากทรัพยากรดั้งเดิม แล้วมนุษย์เป็นผู้ดัดแปลงเช่น ถนน บ้านเมือง ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเป็นนามธรรม (Abstract หรือ Social Environment) เช่น วัฒนธรรม ประเพณี การเมือง ศาสนา กฎหมาย

กลไกสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์สิ่งแวดล้อม  มิติสิ่งแวดล้อม (environmental dimensions) แบ่งเป็น 4 มิติ

1.
มิติทรัพยากร resources dimensions หมายถึงทรัพยากรทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นมิติที่สำคัญเพราะมีบทบาทต่อมนุษย์ในการเอื้อประโยชน์ด้านอาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม มิติทางทรัพยากรมี 4 มิติ
(1.)
ทรัพยากรกายภาพ เป็นทรัพยากรพื้นฐานของระบอบสิ่งแวดล้อม
(2.)
ทรัพยากรชีวภาพ เป็นมิติพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นป่าไม้ สัตว์ป่า พืชเป็นทรัพยากรที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบสิ่งแวดล้อมและเป็นตัวฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของระบบ
(3.)
คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาสร้างคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น เกษตรกรรม พลังงงาน
(4.)
คุณค่าคุณภาพชีวิต เป็นกลุ่มทรัพยากรที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐสังคม ผลที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรจะเป็นตัวชี้ประเด็นว่าสภาพของสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร
มิติทรัพยากรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้การจัดการความยั่งยืนของระบบสิ่งแวดล้อม

2.
มิติเทคโนโลยี เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ความผิดพลาดของการนำเทคโนโลยีมาใช้อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.
มิติของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
-
ของแข็ง ได้แก่ กากสารพิษ ขยะ ฝุ่นละออง
-
ของเหลว น้ำ น้ำมัน ไขมัน
-
ก๊าซ อากาศที่ปนเปื้อนด้วยสารพิษ เขม่าควันออกไซด์ของไนโตรเจน ฯลฯ
-
มลพิษทางฟิสิกส์ เสียง มลพิษของความร้อน แสงสว่าง รังสี

4.
มิติเศรษฐสังคม/มิติมนุษย์ หมายถึงสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นองค์ประกอบภาคในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์เช่น ประชากร กฎระเบียบ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับมนุษย์



*คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม

-  สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีกลไกควบคุมการเกิดขึ้น
-  
สิ่งแวดล้อมนั้นจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ
-  
สิ่งแวดล้อมหนึ่งมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอ  เช่น ปลาต้องการน้ำ เพื่อการอยู่รอดหรือต้องการรักษาสภาพตนเอง  หากขาด
สิ่งแวดล้อมอื่นที่จำเป็นอาจสูญสลายได้
-  
สิ่งแวดล้อมจะอยู่กันเป็นกลุ่ม เรียกกลุ่มของสรรพสิ่ง (ระบบนิเวศ) ภายในระบบนิเวศมีองค์ประกอบ หลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะ การอยู่ร่วมกันมีกลไกสิ่งแวดล้อมควบคุมกระบวนการต่างๆแสดงออกเป็นการทำงานร่วมกัน
-  
สิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวเนื่องเป็นลูกโซ่ ดังนั้นเมื่อทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นเป็นลูกโซ่เสมอ
-  
สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทมักมีลักษณะทนทาน และเปราะบางต่อการถูกกระทบต่างกัน
-  
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงช่วยคราวหรือถาวรก็ได้






ระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ(ecosystem) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม

หรือก็คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดดล้อมในหน่วยพื้นที่หนึ่ง

ประเภทของระบบนิเวศ  การจำแนกประเภทของระบบโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ สามมารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ

1. ระบบนิเวศบนบก  เช่น  ระบบนิเวศป่าดิบชื้น  ระบบนิเวศป่าดิบแล้ง ระบบนิเวศป่าเต็งรัง  ระบบนิเวศป่าชายเลน  ระบบนิเวศทุ่งหญ้า ระบบนิเวศทะเลทราย  เป็นต้น
2. ระบบนิเวศแหล่งน้ำ  เช่น ระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำกร่อย ระบบนิเวศน้ำเค็ม เป็นต้น

 องค์ประกอบของระบบนิเวศ

องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต  ได้แก่  
 1.1 ปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้น ลมและดิน เป็นต้น
 1.2 สารอนินทรีย์ ประกอบด้วยแร่ธาตุและสารอนินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเซลล์สิ่งมีชีวิต  เช่น คาร์บอน  ออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เป็นต้น สารเหล่านี้มีการหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศ
 1.3 สารอินทรีย์ สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน และฮิวมัส เป็นต้น
2 องค์ประกอบที่มีชีวิต  ได้แก่
 2.1 ผู้ผลิต ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตนเองจากสารอนินทรีย์สิ่งแวดล้อม
 2.2 ผู้บริโภค ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้
 2.3 ผู้ย่อยสลาย ได้แก่ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้ เช่น แบคทีเรีย เห็ดรา เป็นต้น